จากที่ท่านลูกาบันทึกเรื่องราวไว้อย่างรวบรัดและได้ใจความแสดงให้เราเห็นว่า คนทั้งสองจำพวกมีการตอบสนองที่แตกต่างกันต่อพระเยซู
มีการใช้คำภาษากรีกที่มีลักษณะของการกระทำที่รุดหน้าคือ "มาร่วมกัน" ในบทที่ 15 ข้อ 1 ซึ่งนำให้เราคิดไปได้ว่ากลุ่มคนจำพวกที่เหมือนกับ บุตรน้อยคนเล็ก นั้นกำลังเป็นกลุ่มหลักในการทำพันธกิจของพระเยซู พวกเขามักจะยกโขยงกันมาหาพระองค์ เรื่องนี้พาให้เกิดความฉงนสนเท่และความโกรธาต่อพวกนักการศาสนาทั้งหลายในเวลานั้น ท่านลูกาได้บันทึกสรุปไว้เช่นนี้ว่า "คนนี้ต้อนรับคนบาป และยังดื่มกินกับพวกเขา" ความหมายของการ นั่งและกินด้วยกับคนหนึ่งคนใด ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกใกล้ในยุคโบราณนั้น คือการแสดงการยอมรับต่อผู้นั้น "พระเยซูกล้าไปยุ่งกับพวกนอกรีตอย่างนั้นได้อย่างไร" พวกเขากล่าว "เจ้าพวกนั้นไม่เคยมาร่วมการนมัสการของเราเลยสักครั้ง แล้วจะไปสนใจต่อคำสอนของพระเยซูอย่างไรได้" พระเยซูมิได้สำแดงต่อพวกเขาอย่างชัดแจ้งถึงสัจจะทั้งปวงอย่างที่ทรงสำแดงต่อเราในทุกวันนี้ กระนั้นพระองค์ก็ยังตรัสกับพวกเขา ถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการจะฟัง
ถ้างั้นแล้ว คำสอนของพระเยซูในคำอุปมานี้ น่าจะกำลังใช้สอนคนพวกไหนกันแน่ ก็ต่อพวกที่สอง คือพวกอาลักษ์และพวกฟาริสี เป็นการสนองต่อท่าทีของพวกเขาที่ทำให้พระเยซูทรงตรัสคำอุปมานี้ขึ้น คำอุปมาเรื่องบุตรสองคน ซึ่งมีการพิเคราะห์หลักเพิ่มเติมที่จิตใจของบุตรคนโต และที่ไคลแม๊กซ์ของเรื่องคือ การแก้ตัวอย่างแข็งขันของเขาและการกลับใจ
ยังมีต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น